~ จะไขว่คว้าหาความสุขกันอย่างไร ~


~ จะไขว่คว้าหาความสุขกันอย่างไร ~
คนเราจะแสวงหาความสุขในชีวิตได้หลายทางหลายรูปแบบ ซึ่งหากจะแบ่งลักษณะที่มาของ ความสุขกันแล้ว อาจจะแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ๒ ประเภท ได้แก่

ประการแรก ความสุขที่ต้องซื้อหาด้วยเงิน เช่น ความสุขจากการท่องเที่ยว การกินอาหารตามร้านที่มีบรรยาการดี ๆ การช้อบปิ้ง (รวมถึงการซื้อของที่ชอบสะสม อย่างเช่น เครื่องเพชร เครื่องทอง เครื่องเงิน ของเก่า หรือการซื้อรถยี่ห้อใหม่ ๆ ของนักเล่นรถทั้งหลาย) การใช้เงินซื้อความสะดวกสบาย (เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องผ่อนแรงของแม่บ้าน) การดูหนังดูละคร คอนเสิร์ต การซื้อทีวีมาดู ซื้อวิทยุมาฟังเป็นต้น

ประการที่สอง ความสุขที่ไม่ต้องซื้อหาด้วยเงิน เช่น การมีสุขภาพแข็งแรง การอยู่ในครอบครัวที่อบอุ่น สามชิกรักใคร่อาทรซึ่งกันและกัน การได้ทำงานที่ใจรัก การมีเพื่อนร่วมงานที่ดี การไม่เป็นหนี้ การประสบความสำเร็จ ผลทางใจที่เกิดจาการทำบุญ การช่วยเหลือเพื่อมนุษย์หรือสังคม การปฏิบัติธรรม ซึ่งเป็นความสุขทางใจที่สมบูรณ์กว่า

คนที่มีสุขภาพจิตดีมักจะสามารถค้นพบความสุขใจจากสิ่งรอบตัวได้ง่าย โดยไม่จำเป็นต้องเสียเงินเสียทอง เพราะพวกเขารู้จักแสวงหาความสุขด้วยการ

๑. ทำชีวิตให้ง่ายและรู้จักยืดหยุ่น ตัดความฟุ่มเฟือย กรอบชีวิตที่เคร่งครัดบางอย่างออกไป เลิกแบบหัวโขนตลอดเวลาเพราะมีแต่จะทำให้หนักโดยใช่เหตุ รู้จักปรับเป้าหมายในชีวิตให้เหมาะสม การตั้งเป้าหมายไว้สูง ถ้าไปไม่ถึงก็เป็นทุกข์ ให้รู้จักลดเป้าหมายในชีวิตลงบ้าง ต่อเมื่อทำได้จึงค่อยเขยิบจุดหมายให้สูงขั้นเพื่อพัฒนาตนเอง

คนที่ชอบใช้ชีวิตง่าย ๆ รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา ไม่เอาจริงเองจังหรือติดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป มักจะเป็นคนที่มักน้อยและให้อภัยคนได้ง่าย ซึ่ง “ ความอยาก ” และ “ ความโลภ ” ย่อมนำไปสู่ความทุกข์ และ “ การสะสมความเคียดแค้นย่อมเกิดภัย แต่การสะสมความรักใคร่ย่อมเกิดสุข ”

๒. ความสามารถปรับใจกับสถานการณ์ต่าง ๆ รอบตัวได้ รู้จักมองหาจุดดีในจุดเสีย มองหาจุดเด่นในจุดด้อย มองหาความขบขันในความเครียด มองหาความสนุกในความเหนื่อย หรือเบื่อหน่าย เช่น การเมืองเครียดนักก็อ่านการ์ตูนล้อการเมืองให้เกิดอารมณ์ขัน ถ้างานยุ่งนักหรือเรียนหนักก็พยายาม ทำสิ่งที่ “ ยุ่ง ” และ “ หนัก ” ให้ “ สนุก ” เสีย หรือถึงจะจนเงินแต่ก็สามารถสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นในครอบครัวได้ (จนเงินแต่ไม่จนรัก)
๓. ให้ความสนใจและเห็นใจในความทุกข์ของผู้อื่น จะทำให้ไม่หมกมุ่นอยู่กับตัวเอง เพราะยิ่งหมกมุ่นอยู่กับตัวเองมากเท่าใดก็ยิ่งทำให้มองเห็นความทุกข์และสงสารตัวเองมากขึ้นเท่านั้น การมองเห็นความทุกข์ของคนอื่นจะช่วยทำให้ลดความเห็นแก่ตัวลง และมีความอดทนต่อความทุกข์ของตนเองได้มากขึ้น

๔. สร้างบรรยากาศรอบตัวให้มีความสุข ด้วยการสร้างบรรยากาศอบอุ่นภายในบ้าน สร้างเสียงหัวเราะในที่ทำงาน มอบไมตรีจิตมิตรภาพและความหวังดีให้แก่คนรอบข้างในสังคม

ความสุขและความทุกข์อยู่ที่ใจของแต่ละคน ดังคำกล่าวที่ว่า “ สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่

ในใจ ” ขึ้นอยู่กับว่าท่านจะไขว่คว้าหาสุขหรือหาทุกข์มาใส่ตัว เพียงแต่ท่าน

- อย่ายอมเป็นทาสของวัตถุ หรือให้วัตถุมาเป็นนาย และ

- อย่ายอมเป็นทาสของอารมณ์ หรือให้อารมณ์มาเป็นนาย

ความสุขก็อยู่แค่เอื้อมนั่นเอง
* นักจิตวิทยา กองสุขภาพจิต กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

บทความที่ได้รับความนิยม

รายการบล็อกของฉัน

blog

 hellomanman  happy-topay  invite-buying
 men-women-apparel diarylovemanman news-the-world
 homemanman alovemanman
 menmen-love
 ghost-in-manman  U.F.O.manman 3d-viera
foodmanman  flowermanman herbs-in-manman
devilmanman herbs-in-manman manman clip