สุสานแห่งความรัก ทัชมาฮาล

[728px-Taj_Mahal_in_March_2004[1].jpg]
ค้นหา
ค้นหา เรื่องราวของอนุสรณ์สถานอันเป็นสัญลักษณ์ของ ความรัก นั้นคือทัชมาฮาล ด้วยความงามจากหินอ่อนและ สถาปัตยกรรมที่วิจิตร ตั้งบนฝั่งแม่น้ำยมนาณ เมืองอัคราทางตอนเหนือ ของประเทศอินเดีย อันเกิดจากชายผู้ หนึ่งซึ่งเป็นถึงองค์จักรพรรดิองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์โมกุลพระนามว่า ชาร์ จาฮาล
 ทรงสร้างเพื่อรำลึกถึง พระมเหสีองค์ที่ 2 ของพระองค์ พระนางมุมตัส มาฮาล อันมีกำเนิดเป็น หญิงสูงศักดิ์ชาวเปอร์ เซีย ซึ่งสิ้นพระชนม์ลงภายหลังประสูติพระโอรสองค์ที่ 14 ในขณะที่ทรงร่วมกับพระสวามีต่อต้านข้าศึก ที่เข้ามารุกราน ณ เมือง เบอร์แฮนเพอร์ เล่ากันมา การสิ้นพระชนม์ของพระนาง ทำให้ชาร์ จาฮาล โศก เศร้าเสียใจเป็นอันมา จนทำให้พระเกศาของพระองค์ ขาวโพลนในเวลาเพียงไม่กี่เดือนหลังจากนั้น ความวิจิตรตระการตาของทัช มาฮาลต้องใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 22 ปี

😩แต่ผลสุดท้ายชาร์ จาฮาล ก็ได้แต่เพียงยลโฉมความงามของทัช มาฮาล ผ่านช่องหน้าต่างในคุกเท่านั้น ณ ป้อมเมืองอัคราเท่านั้นเมื่อครั้งแรกพบ พระนางมุมตัส มาฮาล หรือในพระนามเดิมว่า อาจูมานด์ บานู กำลังขายเครื่องประดับใน เทศกาลออกร้านครั้งหนึ่งอันถือเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่เปิดโอกาสให้หญิงสูงศักดิ์มาขายเครื่องประดับเล็กๆ น้อยๆแก่ชายหนุ่มสูงศักดิ์ด้วยราคาที่แพงลิบลิ่วเพียงเพื่อให้ทั้งคู่ได้สานทอ สายใยแห่งรัก จนถึงขั้นหมั้นหมายและแต่งงานกันหลังจากการพบกันครั้งแรก

จนก่อให้เกิดพระราชพิธีอภิเษกสมรสขึ้นใน วันที่ 30 เมษายน 1612 ชาวเมืองอัครเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพิธีโดยความปิติยินดีต่อองค์จักรพรรดิ เจ้าสาว พระชนมายุเพียง 19 ชันษา ได้รับพระราชทานพระนามใหม่เป็นพระนางมุมตัส มาฮาล อันเป็นชื่อวังแห่งหนึ่งขององค์จักรพรรดิขณะที่พระนางมุมตัส มาฮาลดำรงพระชนม์ชีพอยู่นั้นได้เคยขอสัญญาจาก ชาร์ จาฮาล 
ไว้ 4️⃣ ข้อ หากพระนางสิ้นพระชนม์ลง คือ
1️⃣.ต้องสร้างทัสมาฮาลเป็นสุสานของพระนาง
2️⃣.ให้องค์จักรพรรดิ์อภิเษก สมรสอีกครั้ง
3️⃣.องค์จักรพรรดิควรมีราชกรุณาต่อเด็กๆ
4️⃣.ต้องเสด็จราชดำเนินไปยังทัส
มาฮาลอันเป็นที่ ฝั่งศพของพระนางทุกๆปี ภายหลังจากที่พระนางมุมตัสสิ้นพระชนม์ลง

ชาร์ จาฮาล ทรงกระทบ กระเทือนพระทัยอย่างมาก ถึงกับงดการว่าราชการ ไม่ฉลองพระองค์เยี่ยงกษัตริย์ เสวยอาหารพื้นๆและไม่ฟังดนตรี พระองค์ทรงเอาแต่กันแสง เส้นพระเกศาหงอกขาวอย่างรวดเร็ว ทรงเลิกเป็นผู้นำทัพไปปกป้องชายแดน เอาแต่ประทับอยู่ในวัง มอบหมายให้ข้าราชบริพารไปทำกันหมด ความโศกเศร้าต่อการจากไปของนางอันเป็ที่รักกินเวลานานถึง 2 ปีหลังจากนั้นพระองค์ทรงปฎิบัติตามสัญญาทรงก่อสร้าง ทัสมาฮาลในปี 1631 การก่อสร้างใช้เวลานานถึง 22 ปี ใช้คนงานและช่างฝีมือเกือบ 20,000 คน มีการขนหินอ่อนสีขาวจากเมืองโชตบุระ ที่ไกลประมาณ 100 ไมล์

นอกจากนี้ยังมีอัญมณีมีค่าประดับประดาสุสาน ตั้งแต่หินลายสีฟ้าจาก ลังกา หินสีเขียวจากรัสเซีย หินโมราจากกรุงแบกแดดและพลอยจาก ทิเบต ยังต้องใช้ช้างนับพันตัวเพื่อขนย้ายวัสดุอุปกรณ์เหล่านี้เข้ามา ทัสมาฮาลถือเป็นผลงานการออกแบบขั้นเอกอุ จาก สถาปนิก
ชาวอินหร่าน นามว่า อิทัส อูซา และ นอกจากความงามของสถาปัตยกรรมแล้ว สิ่งที่เสริมความงามของทัช มาฮาล นั้นก็คือ การเป็น "สัญลักษณ์ของความรักชั่วนิรันดร์"ทัช มาฮาล และสิ่งก่อสร้างรายล้อมแล้วเสร็จในปี 1652 เมื่อผู้มาเยี่ยมชมเดินผ่านความมืดออกจาก ซุ้มประตูโค้ง ก็จะเห็นสถาปัตยกรรมหินอ่อนสีขาว ผุดผ่องเป็นสิ่งก่อสร้างที่ได้สัดส่วนกลมกลืนกันอย่างเหมาะเจาะ สายตาจะถูกชี้นำด้วยทางน้ำที่เป็นเส้น ตรงเพื่อให้พื้นที่ในระดับสายตาซึ่งเป็นที่ตั้งของสิ่งก่อสร้าง


อันมีฐานรองรับเป็นหินทรายและหินอ่อน เบื้องบนเป็นโดมกลมชูยอดแหลมเสียดฟ้ารายล้อมด้วยหอคอยยอดกลมตั้งขนาบตรงมุมทั้ง 4 ทิศความงดงามของหินอ่อนสีขาวยามสะท้องแสงแดด ทั้งในอรุณรุ่งและ สายัณห์จะค่อยๆเปลี่ยนสีผิวของสิ่งก่อสร้างนั้นเป็นสีม่วง สีแดงกุหลาบ และสีทอง ท่ามกลางละอองหมอกในตอนเช้า สิ่งก่อสร้างดูเหมือน วิมานในหมู่เมฆ ราวกับกลุ่มละอองหมอกก่อรูปขึ้นมาให้กลมกลืนประดุจ เป็นองค์ประกอบเดียวกัน 
ยิ่งกว่านั้น

ความตระหง่านทะมึนใต้แสงจันทร์ เต็มดวงของทัชมาฮาลดูสง่า เมื่อแสงที่สะท้อนจากตัวโดม เปล่งรัศมีดุจ ไอน้ำอีกทั้งยังสะท้อนแสงกระเพื่อมของน้ำจากสระรูปวงรีผู้มาเยือนเดินเลียบไปตามเส้นทางน้ำที่เรียงรายเป็นทิวแถวด้วยไม้สนไซ
เพร็ส ก็จะค่อยๆแลเห็นเนื้อผิวหินอ่อนที่ขาวผุดผ่องของตัวสุสานอันเป็นเจตนา ของผู้ก่อสร้าง มีลวดลายดอกจากงานฝีมือฝังมุก และลวดลายอาหรับผสม ผสาน

เข้ากับบทสวดจากคัมภีร์กุรอ่านจากรึกไว้เหนือประตูทางเข้าด้วยอักษรลายมือ เหนือขึ้นไปอีกเป็นโดมมหึมาสูงประมาณ 230 ฟุต เปล่งปลั่งอยู่ท่ามกลางแสงแดด เหมือนดอกไม้ตูมขนาดยักษ์ถึงแม้ ชาร์ จาฮาล ปฎิบัติตามสัญญาได้ทั้ง 3 ข้อ แต่ในข้อสุดท้ายนั้น พระองค์ไม่อาจปฎิบัติได้ เพราะว่าในปี 1658 พระราชโอรสพระองค์หนึ่งของพระองค์ นามว่า ออรังเซบ ไม่อาจเห็นการใช้จ่ายเงินอย่างฟุ่มเฟือย อันก่อให้เกิดความเดือนร้อนต่ออาณาประชาราษฎร์ จึงทรงก่อการปฎิวัติแล้วจับองค์ ขาร์ จาฮาล คุมขังในป้อมเมืองอัครา ชาร์ จาฮาล จากที่เคยมีความสุขจากทรัพย์ศฤงคารมากเหลือคณานับ

สุดท้ายบั้นปลายพระชนม์ชีพของพระองค์ ต้องประทับในที่คุมขังเป็นเวลานานถึง 8 ปี และสิ้นพระชนม์ลงในปี1666 พระองค์ทรงได้แต่เพียงเขย่งพระบาทเกาะช่องหน้าต่างลูกกรงเหล็ก ทอดพระเนตรไปยังฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำยมนา เฝ้ามองสุสานของพระนางอันเป็นที่รัก ในที่สุดเมื่อองค์ ชาร์ จาฮาล สิ้นพระชนม์ลง พระศพของพระองค์ได้ถูกนำไปฝังเคียงข้าง
พระนางมุมตัส ภายใต้โดมหินอ่อนอันเป็นอนุสรณ์แห่งความรัก 
นามว่า "ทัช มาฮาล"

บทความที่ได้รับความนิยม

รายการบล็อกของฉัน

blog

 hellomanman  happy-topay  invite-buying
 men-women-apparel diarylovemanman news-the-world
 homemanman alovemanman
 menmen-love
 ghost-in-manman  U.F.O.manman 3d-viera
foodmanman  flowermanman herbs-in-manman
devilmanman herbs-in-manman manman clip